เพื่อการศึกษา http://norain.siam2web.com/
อาหารที่เหมาะกับวัย
คุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
  
อาหารวัยเด็ก  
  

เนื่องในโอกาสวันเด็ก ขอถือโอกาสคุยกันเรื่อง อาหารวัยเด็ก เมื่อเตรียมพร้อมกับการมีสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้าเรามักจะได้ยินคำพูดว่า “อาหารคือตัวเรา” เป็นเพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นตัวเรา ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไปเริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เราได้อาหารจากแม่ที่กินเข้าไปเพื่อสร้างโครงร่างเลือดเนื้อให้เป็นตัวเรา จนกระทั่งคลอดออกมาเป็นทารก เด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่จนถึงวัยผู้สูงอายุคนเราจำเป็นต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอย่างปกติสุข คือมีภาวะโภชนาการที่ดี ซึ่งก็คือพื้นฐานการมีสุขภาพที่ดี

 


วัยทารก เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางสมองและทางร่างกาย น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และมีสารที่ช่วยต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกและยังสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูก หลัง 4 เดือนไปแล้วควรได้รับอาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม ควรให้กินนมแม่นานที่สุด หรืออย่างน้อย 2 ปี

ช่วงวัยก่อนเรียน คืออายุเกิน 1 ปีขึ้นไป จนถึง 5 ปี เด็กจะมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเป็นส่วนใหญ่ กินอาหารครบ 5 หมู่และหลากหลาย ดื่มนมจืดวันละ 2 – 3 แก้ว กินปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผักและ ผลไม้เป็นประจำ ซึ่งถ้าได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของร่างกาย ความเจริญทางสมอง ก็จะเป็นไปอย่างเต็มที่ ควรมีการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับอาหารชนิดใหม่ ๆ โดยเริ่มให้ที่ละน้อย ๆ จัดอาหารให้น่ากินและรสชาติพอเหมาะกับเด็ก ฝึกให้เด็กกินอาหารพร้อมพ่อ – แม่ พร้อมกับเป็นตัวอย่าง ที่ดีในการกินอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารขบเคี้ยว น้ำหวาน ขนมหวาน

เด็กวัยเรียน หรือเด็กที่มีช่วงอายุ 6 – 14 ปี ซึ่งร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างช้า, แต่สม่ำเสมอ ต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย อาหารควรอุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด เนื้อสัตว์ ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารทุกครั้ง สร้างนิสัยการกินอาหารไทย รับประทานครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าห้ามงด เพราะเคยมีการศึกษาพบว่าการไม่รับประทานอาหารเช้าทำให้พลังงานและสารอาหารที่ได้รับจากอาหารประจำวันลดลงนำไปสู่ภาวะการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นเหตุผลหนึ่งของการมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ และทำให้ผลการเรียนด้อยกว่าความสามารถของเด็กนักเรียนที่ได้รับประทานอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วนแบบตะวันตก อาหารที่มีรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด อาหารขบเคี้ยว น้ำอัดลม พร้อมกับฝึกนิสัยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ จากที่กล่าวมาเป็นข้อเสนอแนะการกินอาหารสำหรับวัยเด็กเมื่อให้เด็กในช่วงแต่ละวัยมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย เตรียมพร้อมกับการเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติต่อไป

   อาหารสำหรับเด็กวัยรุ่น  

 ในระยะนี้ ร่างกายต้องการสารอาหารในการสร้างเซลล์ต่างๆ กระดูกและฟัน และต่อมต่างๆ ในร่างกายเริ่มมีการทำงานหนักขึ้น จึงต้องให้อาหารที่เพียงพอเพื่อการเจริญเติบโตที่เต็มที่ สารอาหารหลักที่เด็กวัยรุ่นต้องการมีดังต่อไปนี้

  

อาหารและปริมาณอาหารที่วัยรุ่นควรได้รับ
          -  น้ำนม ควรดื่มวันละ 2-3 ถ้วยตวง เพราะมีแคลเซียม โปรตีน และวิตามินมากมาย
        -  ไข่ ควรทานวันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีน เหล็ก และวิตามินเอ
        -  เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 150-180 กรัม หรือประมาณ 3/4ถ้วยตวง และควรได้รับเครื่องในสัตว์ควบคู่ไปด้วย
        - ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
        - ผัก อาจเป็นผักสีเขียนหรือผักสีเหลือง ควรได้รับทุกวัน มื้อละ 1/2 ถ้วยตวง
        - ผลไม้ ควรได้รับทุกมื้อ
        -  ข้าว ควรได้รับวันละ 5-6 ถ้วยตวง
        - ไขมัน ควรได้รับน้ำมันวันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ
 
ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของวัยรุ่น
        เบื่ออาหาร มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ใหญ่บังคับให้เด็นกินอาหารชนิดหนึ่งมากเกินไป หรือเกิดจากอารมณ์ เช่น ความเหน็ดเหนื่อย  ผิดหวัง
        โรคอ้วน  มีสาเหตุมาจารกลักษณะนิสัยในการกินของเด็กที่ชอบกินจุบจิบ
        กินอาหารไม่เป็นเวลา เด็กวัยรุ่นมักอดอาหารเช้า เพราะกลัวว่าจะอ้วน หรือเร่งรีบไปโรงเรียน

 

หญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน 

อาหารของหญิงมีครรภ์

anibook_blue_2.gifอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มักเกิดขึ้นในระยะที่มีครรภ์ได้แก

circle03_orange_1.gif คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบบ่อยในระยะที่มีครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เรียกว่าการแพ้ท้อง อาการแพ้นี้แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน อาการแพ้จะเริ่มในเวลาเช้า และเป็นอยู่ในระยะ 2-3 เดือนแรก บางครั้งอาจแพ้ในตอนเย็น  เพราะร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงาน  อาการแพ้อาจบรรเทาได้โดยการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว

circle03_orange_1.gif ท้องผูก พบในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด เพราะทารกโตขึ้น และกดทับลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อย ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากอาหารน้อยและออกกำลงกายน้อย วิธีแก้ไขคือ ให้กินผักผลไม้และดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายด้วยการเดิน ทำงานหนักจนเกินไป

circle03_orange_1.gif ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีฮอร์โมนบางชนิดเปลี่ยนแปลง ทำให้กระเพาะลำไส้มีการเคลื่อนไหวช้าลง และกรดน้ำย่อยในกระเพาะมีน้อยลง ทำให้มีอาการท้องอืด คลื่นไส้ บางครั้งมีอาการแสบยอดอก เพราะมีการย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะเข้าสู่หลอดอาหารบริเวณที่ติดกับกระเพาะ

circle03_orange_1.gif การน้ำหนักเพิ่ม ในระยะมีครรภ์ 3 เดือนแรก น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่มีการสร้างเนื้อเยื่อของแม่ และอวัยวะของทารกมากกว่าการเติบโตด้านขนาด หลังจาก 3 เดือนแล้ว น้ำหนักตัวแม่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อเดือนจนถึงคลอด หญิงมีครรภ์ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากจนเกินไป โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมาก

anibook_blue_2.gifหญิงมีครรภ์ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นเพราะ

circle03_skyblue_1.gif สร้างอวัยวะต่างๆของทารก

circle03_skyblue_1.gif สร้างเนื้อเยื่อของแม่ เช่น สร้างรก เลือด การขยายตัวขงมดลูก การขยายตัวของต่อมน้ำนม

circle03_skyblue_1.gif การทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ตับ ไต ต่อมไร้ท่อ

anibook_blue_2.gifสารอาหารที่ต้องการในระหว่างมีครรภ์

circle03_green.gif โปรตีน ต้องการโปรตีนมากขึ้นกว่าปกติ เพราะใช้ในการสร้างเซลล์ ของแม่และทารก

circle03_green.gif สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ความต้องการพลังงานจะสูงที่สุดในช่วงระยะ 3 เดือนก่อนคลอด เพราะเป็นระยะที่ทารกเติบโตสูงมาก

circle03_green.gif เกลือแร่ ได้แก่

    - แคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างกระดูกและฟันของทารก ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ 4 และจะเพิ่มสูงสุดในระยะก่อนคลอดเพราะต้องใช้ในการสร้างนมให้ทารก

    - เหล็ก เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ร่างกายต้องสะสมเหล็กสำหรับแม่ในระหว่างการคลอดและสำหรับทารกหลังคลอด

    - ไอโอดีน ในระหว่างตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะทำงานมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องการไอโอดีนมากขึ้น เพราะไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนไทรอคซิน ซึ่งผลิตโดยต่อมไทรอยด์ การที่แม่ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะทำให้แม่เป็นโรคคอพอก และมีผลถึงทารกด้วย คือ ทำให้ทารกตัวเล็ก แคระแกร็น มีสติปัญญาต่ำ

    - วิตามิน ที่จำเป็นต้องได้รับมากขึ้นคือ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอะซิน วิตามินบี12 วิตามินเอ ดี อี เค

anibook_blue_2.gifอาหารและปริมาณอาหารที่หญิงมีครรภ์ควรได้รับ

circle03_yellow.gif เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ หอย ปลา ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ 3/4 ถ้วยตวง

circle03_yellow.gif ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ควรกินวันละ 1 ฟอง ไข่นอกจากจะให้โปรตีนแล้ว ยังมีเหล็กและวิตามินเอมากด้วย

circle03_yellow.gif น้ำนม มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว

circle03_yellow.gif ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ 1/2 ถ้วยตวง

circle03_yellow.gif ข้าวหรือแป้ง ให้พลังงาน ควรได้รับทุกวัน วันละ3-4ครั้ง ครั้งละ 1 1/2-2 ถ้วยตวง ถ้ากินข้าวซ้อมมือก็จะช่วยให้ได้รับวิตามินบี1เพิ่มขึ้น

circle03_yellow.gif น้ำตาล ให้พลังงาน ควรกินแต่พอควรเพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ความหวานจัด

circle03_yellow.gif ผัก ควรกินผักวันละ 2-3ครั้ง ครั้งละประมาณ 1/2-1ถ้วยตวง การกินผักนอกจากจะทำให้ได้เกลือแร่แล้ว จะทำให้การขับถ่ายดีด้วย

circle03_yellow.gif ผลไม้ ควรกินผลไม้สดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อได้รับวิตามินซี

circle03_yellow.gif ไขมัน ควรได้รับไขมันทุกวัน เพื่อให้วิตามินที่ละลายในน้ำมันดูดซึมได้ดี แต่ไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำมันมาก เช่น ข้าวเกรียบ บ่อยเกินไป เพราะให้พลังงานมากเกินไป ทำให้ได้รับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อาหารที่หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ น้ำชา กาแฟ อาหารรสเผ็จัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด และอาหารใส่ผงชูรส

african_hr.gif

อาหารของหญิงให้นมบุตร

 

ในระยะ 3 เดือน ทารกจะได้รับนมแม่เป็นอาหารหลัก การเจริญเติบโตของทารกขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของน้ำนม ดังนั้นในระยะนี้ แม่จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารให้เพียงพอ เพื่อ

circle03_skyblue_2.gif ใช้ในการผลิตน้ำนมสำหรับทารก

circle03_skyblue_2.gif ให้มีพลังงานเพียงพอที่จผลิตน้ำนมสำหรับทารก

circle03_skyblue_2.gif เสริมสร้างสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์

anibilliard_green_1.gifสารอาหารที่ต้องการระหว่างให้นมบุตร

circle03_green_1.gif โปรตีน เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้ทารก และเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่างๆของแม่ที่ญเสียไปในระหว่างคลอด หากระยะนี้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายเอาโปรตีนจากเนื้อเยื่อต่างๆมาผลิตน้ำนม ทำให้แม่มีสุขภาพร่างกายทรุดโทรม เติบโตช้า น้ำหนักทารกเพิ่มขึ้นน้อย เติบโตช้า ดังนั้นเพื่อให้ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ หญิงให้นมบุตรควรได้รับโปรตีนมากกว่าภาวะก่อนมีครรภ์ 20 กรัม และควรเป็นโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์

circle03_green_1.gif สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แม่จำเป็นต้องได้รับพลงงานมากขึ้นเพื่อเป็นพลังงานในการผลิตน้ำนม หญิงที่ให้นมบุตรควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ 1000 แคลอรี ไม่ควรทานอาหารหวานเกินไป และอาหารที่มีไขมันมากเกินไป

circle03_green_1.gif วิตามิน ได้แก่

    - วิตามินเอ เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำนมแม่ ในวันหนึ่งร่างกายจะผลิตน้ำนม 600-850 มิลลิลิตร ดงนั้นหญิงให้นมบุตรควรได้รับวิตามินเอมากขึ้นเป็นวันละ 4000 หน่วยสากลต่อวัน

    - วิตามินดี ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล ใช้ในการสร้างน้ำนมให้ทารก

    - วิตามินเค หากวิตามินเคในน้ำนมของแม่ต่ำ จะส่งผลให้ทารกขาดวิตามินเค

    - วิตามินบี1 หากทารกขาดวิตามินบี1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

    - วิตามินบี2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำนมแม่ ควรได้รับเพียงพอ คือ ประมาณ 101 มิลลิกรัม

    - วิตามินซี เพื่อให้นมแม่มีวิตามินซีเพียงพอสำหรับทารก

circle03_green_1.gif เกลือแร่ ได้แก่

    - เหล็ก มีการขาดมากในหญิงที่ให้นมบุตร เนื่องมาจากการสูญเสียเลือดในระหว่างการคลอดและได้รับธาตุเหล็กชดเชยไม่เพียงพอ ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง มีความต้านทานโรคต่ำ ดังนั้นจึงควรได้รับธาตุเหล็กอย่างน้อยวันละ 26 มิลลิกรัม

    - แคลเซียม ต้องการมากขึ้นในการสร้างน้ำนมให้ทารก ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการหลั่งของน้ำนมแม่ ใน3เดือนแรกหลังคลอดบุตร จะต้องการแคลเซียมวันละ 1200 มิลลิกรัม

    - ไอโอดีน ควรได้รับไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม เพื่อให้น้ำนมมีไอโอดีน หากทารกขาดไอโอดีนจะทำให้มีผลต่อสติปัญญา

anibook_blue_2.gifอาหารและปริมาณอาหารที่หญิงให้นมบุตรควรได้รับ

circle03_blue_1.gif เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจากระยะมีครรภ์ 30 กรัม รวมเป็น 150-180 กรัม หรือประมาณ 1 ถ้วยตวง

circle03_blue_1.gif ไข่ หากกินเนื้อสัตว์ไม่เท่าตามที่กำหนด สามารถกินไข่ได้ ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง

circle03_blue_1.gif เครื่องในสัตว์ เป็นอาหารที่ให้โปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด ควรกินประมาณสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

circle03_blue_1.gif น้ำนม จะเป็นนมสดหรือเป็นนมถั่วเหลืองก็ได้ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2 ถ้วยตวง

circle03_blue_1.gif ถั่วเมล็ดแห้ง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก็ได้ เพราะให้โปรตีนมากและให้วิตามินบี2

circle03_blue_1.gif ข้าวและแป้ง เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ควรได้รับทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 1/2 - 2 ถ้วยตวง

circle03_blue_1.gif ผัก โดยเฉพาะผักสีเขียวและผักสีเหลือง ควรกินผักอย่างน้อยวันละ 1-2 ถ้วยตวง เพราะให้เกลือแร่และช่วยในการขับถ่าย

circle03_blue_1.gif ไขมัน เพื่อช่วยให้วิตามินที่ละลายในไขมันถูกดูดซึมได้ดีขึ้น ควรได้รับน้ำมัน(ที่อยู่ในรูปอาหารทอดหรือผัด)วันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ

หญิงที่ให้นมบุตรควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ(อาจเป็นการทำงานบ้าน) พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารหวานจัด หลีกเลี่ยงยาที่แพทย์ไม่สั่ง

anibook_blue_2.gifปัญหาโภชนาการของหญิงให้นมบุตร มีสาเหตุมาจาก

circle03_darkblue.gif ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารแสลง ความเชื่อต่างๆได้แก่ การอดอาหารแสลงในขณะอยู่ไฟ โดยเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ในระยะนี้จะทำให้แผลช่องคลอดหายช้า เป็นสาเหตุทำให้แม่เป็นโรคขาดโปรตีนและแคลอรี ปริมาณน้ำนมน้อย มีผลต่อทารกด้วย

circle03_darkblue.gif ความยากจน เพราะอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม จะมีราคาแพง ทำให้ผู้ที่มีฐานะยากจนไม่สามารถซื้อมาทานได้

circle03_darkblue.gif นิสัยการกินไม่ดี อาจคิดว่าการกินอาหารอาหารในระยะนี้จะทำให้อ้วน จึงพยายามลดอาหาร ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีน้ำนมไม่พอแก่ทารก

circle03_darkblue.gif ขาดความรู้ด้านโภชนาการ ทำให้เลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ หลงคำเชื่อโฆษณา

 

 

 

    อาหารผู้สูงอายุ     

ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

anibook_blue_3.gifสารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการ

circle03_darkgreen.gif พลังงาน ต้องการพลังงานน้อยลง เพราะการทำงานของร่างกายมีน้อยลง พลังงานที่ควรได้รับควรน้อยกว่า 1200 แคลอรี

circle03_darkgreen.gif โปรตีน ควรได้รับวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับโปรตีนมากเกินไป ร่างกายจะนำไปสะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน

circle03_darkgreen.gif ไขมัน ไม่ควรได้รับมากเกินไป เพราะการได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วน

circle03_darkgreen.gif แคลเซียม ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม

circle03_darkgreen.gif เหล็ก ควรได้วันละ 6 มิลลิกรัม ควรกินอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซีด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก

circle03_darkgreen.gif วิตามิน ควรได้รับวิตามินซีประมาณ 30 มิลลิกรัม โดยดื่มน้ำส้มคั้นวันละ 1 แก้ว

circle03_darkgreen.gif น้ำ ควรได้รับวันละ 1 1/2-2 ลิตร โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนสูญเสียเหงื่อมาก ควรได้รับน้ำเพิ่มขึ้น

anibook_blue_3.gifอาหารและปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับ

circle03_blue_2.gif เนื้อสัตว์ ควรได้รับวันละ 120 กรัม ควรเป็นเนื้อปลา และควรได้รับเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

circle03_blue_2.gif ไข่ ย่อยและดูดซึมง่าย ควรได้รับสัปดาห์ละ 3-5 ฟอง

circle03_blue_2.gif น้ำนม มีแคลเซียมเพื่อช่วยในการสร้างกระดูก ควรใช้นมผงที่ไม่มีไขมัน 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ 1 ถ้วยตวง หรือดื่มนมถั่วเหลืองแทนก็ได้

circle03_blue_2.gif ถั่วเมล็ดแห้ง ควรนำมาต้มให้นิ่มก่อนกิน ควรได้รับวันละ 1/2 ถ้วยตวง ควรกินครั้งละน้อยๆ เพราะถ้ากินมากจะทำให้เกิดท้องอืด

circle03_blue_2.gif ข้าว ควรได้รับวันละ 3-4 ถ้วยตวง

circle03_blue_2.gif ผัก ควรกินทุกวันเพื่อได้รับวิตามิน และกากอาหารช่วยไม่ให้ทองผูก ไม่ควรกินผักดิบเพราะมีกากอาหารมากเกินไปย่อยยาก ทำให้ท้องอืดเพราะมีก๊าซมาก ยกเว้นผักกาดหอมที่กินทั้งดิบๆได้

circle03_blue_2.gif ผลไม้ ควรกินทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง ควรเลือกที่ย่อยง่าย เคี้ยวง่าย

circle03_blue_2.gif ไขมัน ไม่ควรกินไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้ท้องอืดและมีน้ำหนักเพิ่ม ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค

piano.gif

anibook_blue_3.gifปัญหาโภชนาการของผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจาก

circle03_darkgreen_1.gif นิสัยการบริโภค ผู้สูงอายุมักกินอาหารตามความชอบ และชอบอาหารหวานจัด อาจกินอาหารตามประเพณีความเชื่อ ทำให้ไม่สามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ

circle03_darkgreen_1.gif การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางจิตใจ ผู้สูงอายุมีความคิดว่าตนไม่มีความสำคัญต่อครอบครัว รู้สึกถูกทอดทิ้ง เบื่อสิ่งต่างๆ และเบื่ออาหาร ทำให้ไม่ชอบกินอาหาร ส่วนผู้สูงอายุบางคนกินตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคอ้วน

circle03_darkgreen_1.gif การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามีดังนี้

    - ฟันไม่ดีเหมือนเก่า เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ทำให้เคี้ยวอาหารได้น้อยลง ทำให้ไม่ได้รับโปรตีนและแคลอรีที่เพียงพอ

    - การดูดซึมของสารอาหารลดลง เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ทำให้ขาดสารอาหารดังกล่าว คือ โรคโลหิตจาง และโรคกระดูกพรุน

    - เซลล์หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

    - การบีบตัวของลำไส้น้อยลง ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากน้อย และดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิดโรคท้องผูก

    - เลือดไหลผ่านไตน้อยลง ทำให้ขับของเสียได้น้อย จึงมีการตกตะกอนของแคลเซียมในไต ทำให้เกิดโรคนิ่ว

BoyzaBoyzaBoyzaBoyzaBoyzaBoyzaBoyzaBoyza

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 6,570 Today: 3 PageView/Month: 47

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...